'.$description; ?>

Heading for Printing

รู้เท่าทันอารมณ์
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - รู้เท่าทันอารมณ์

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

รู้เท่าทันอารมณ์

เล่าเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 60
โดยชุติมณฑน์ ปัญญาคำ

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ณ เวลาหนึ่ง ๆ ในชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงสั้น ๆ ที่สามารถระลึกได้อยู่ หรือเป็นเวลาที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เรามักจะเคยผ่านประสบการณ์ทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งประสบการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้ย่อมมีผลต่ออารมณ์จิตใจของเราทั้งสิ้น

ภาวะการสูญเสียคนที่รัก การพลัดพราก ความผิดหวัง ตกงาน อกหัก หรือการไม่สมหวังต่าง ๆ การได้รับข่าวร้าย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่ออารมณ์จิตใจทั้งสิ้น  มารู้จัก 5 ปฏิกิริยาทางอารมณ์เมื่อได้รับข่าวร้าย (5 stages of grief) ของ Kübler-Ross Model เพื่อให้เราสามารถเข้าใจปฏิกิริยาทางอารมณ์และเพื่อช่วยให้เข้าใจ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง เอาไว้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับภาวะสะเทือนใจที่เกิดขึ้นในชีวิต

  1. ปฏิเสธความจริง (Denial) เช่น เมื่อคุณหมอแจ้งว่าลูกขอคุณที่คลอดออกมามีอวัยวะบางส่วนที่มันไม่สมบูรณ์เหมือนเด็กอื่นทั่วไป คุณก็จะปฏิเสธกับตัวเองว่า “ไม่หรอก มันจะไม่เป็นอย่างนั้น ฉันดูแลตัวเองเป็นอย่างดี” “หมอต้องตรวจผิดแน่เลย” “ครอบครัวของฉันไม่มีใครเป็นแบบนี้”  ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการป้องกันทางจิตใจที่ขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งถือว่าเป็นสภาวะปกติ เว้นเสียแต่ว่าคนนั้นไม่สามารถผ่านขั้นนี้ไปได้ หรือใช้เวลานานจนเกิดผลต่ออารมณ์จิตใจจนอาจมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
  2. ระยะโกรธ (Anger) โมโหตัวเอง โทษคนอื่น ตีโพยตีพาย หรือบางคนอาจเลยเถิดไปกล่าวโทษสิ่งที่มองไม่เห็น โทษพระเจ้าหรือสิ่งอื่นตามความเชื่อ เฝ้าถามหาคนผิดหรือมีคำถามมากมาย
  3. ระยะต่อรอง (Bargaining) เป็นระยะที่เริ่มจิตใจเริ่มสงบ แต่การต่อรองนี้มักจะเกี่ยวข้องกับตนเองในอดีตและบางคนแฝงไปด้วยความรู้สึกผิด เช่น ถ้าตรวจโครโมโซมสามีก่อนลูกคงไม่เป็นแบบนี้ เริ่มค้นหาแพทย์คนใหม่ ต่อรองกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ “ถ้าลูกหายจะ….”
  4. ระยะซึมเศร้า (Depression) เป็นระยะที่ผ่านการปฏิเสธ การโกรธ และการต่อรองมาแล้ว คุณก็จะเริ่มรับรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มันหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องเผชิญกับความจริงนี้  อารมณ์และความรู้สึกซึมเศร้าก็จะเกิดขึ้น ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นก็มีได้ทั้งทางกายและจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หดหู่ใจ ร้องไห้ ไม่อยากอยู่ กลัว วิตกกังวล ฯลฯ  ระยะซึมเศร้านี้ยังไม่ได้จัดว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่เป็นอาการเศร้าที่เกิดจากการตอบสนองของจิตใจต่อความสูญเสียหรือความผิดหวัง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นปกติที่เกิดในกระบวนการเยียวยาจิตใจของคนเรา และอาการที่เกิดขึ้นอยู่ภูมิหลังของคนแต่ละคนว่าจะตอบสนองต่อความสูญเสียหรือสิ่งที่สะเทือนใจได้อย่างไร  ดังนั้นผู้ที่ตกอยู่ในซึมเศร้านี้ควรได้รับการประคับประคองและต้องให้ผ่านหรือหลุดไปได้อย่างรวดเร็ว หากระยะซึมเศร้านี้คงอยู่ยาวนานเกินไปก็จะมีผลต่อสภาพจิตใจและพัฒนาไปสู่โรคทางจิตเวชได้
  5. ระยะยอมรับ (Acceptance) เป็นระยะที่อาการเศร้าได้คลี่คลายลง จิตใจสงบลง เริ่มยอมรับความจริง เช่น ยอมรับว่าลูกป่วย ลูกมีความผิดปกติของอวัยวะบางส่วนจริง มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อสถานการณ์ มองหาผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่จะช่วยลูก ยอมรับการรักษา

จะเห็นได้ว่า 5 ปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อการสูญเสียที่กล่าวมานี้ ไม่เพียงจะใช้กับกรณีการสูญเสียและการจากเท่านั้น ยังรวมถึงสถานการณ์ที่สะเทือนใจอื่น ๆ ได้ด้วย  ฉะนั้นการที่คุณหรือคนรอบข้างได้เข้าใจถึงปฏิกิริยาทั้ง 5 ระยะ ก็จะช่วยให้คุณรู้จักอารมณ์ตัวเอง เพื่อพัฒนาไปสู่การเยียวยาอารมณ์จิตใจของคุณได้อย่างทันท่วงทีเท่ากับเป็นการรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง และคนรอบข้างเองก็จะได้เข้าใจสถานการณ์ทางอารมณ์และมีส่วนประคับประคองจิตใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การมีความสุขร่วมกันในสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาได้