ผลงานของศูนย์ฯ
ผลงานของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ผ่านมามีมากมาย พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
- เป็นที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ไทยว่า ศูนย์ฯเป็นแหล่งรับส่งต่อผู้ป่วยที่ใหญ่ที่สุด มีผู้ป่วยส่งต่อมาจากสถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ องค์กรการกุศลต่างๆ เช่น องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน สื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสำนักพระราชวัง ซึ่งจะส่งต่อคนไข้์ที่แพทย์ตามเสด็จไปพบ เช่น ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่งต่างๆ และจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียตนาม, เขมร, ลาว ฯลฯ
- ดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดรุนแรงไปแล้วมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งไม่รวมผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อีกจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคลากรทางแพทย์จากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ
- เป็นแหล่งรักษาผู้ป่วยโรคงวงช้าง (frontoethmoidal encephalomeningocele) ที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก มีเทคนิคการผ่าตัดแก้ไขความพิการในโรคงวงช้างโดยวิธี "จุฬาเทคนิค" ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทยประจำปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันเป็นวิธีที่เป็นที่รู้จักดีทั่วโลก
- เป็นผู้นำในการนำเอาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการแพทย์ในสาขานี้ มาใช้ในประเทศเป็นครั้งแรก เช่น อุปกรณ์เพิ่มขนาดกระดูกใบหน้า (distractor) การทดแทนกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะด้วยกระดูกเทียมที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (customized implant) โดยเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว (rapid prototyping) วัสดุยึดเชื่อมกระดูกแบบละลายได้ (resorbable plates & screws) การใช้วัสดุยึดกระดูกชนิดละลายได้ (resorbable plate and screws) ซึ่งมีการใช้ครั้งแรกในประเทศไทยโดย นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
- นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ และนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ได้รับเกียรติเป็นกองบรรณาธิการวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติหลายฉบับ
- ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯ มีบทบาทต่าง ๆ ในสมาคมในระดับนานาชาติหลายสมาคม เช่น เป็นสมาชิก นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการบริหารสมาคมระดับภูมิภาค คือ Asian-Pacific Craniofacial Association จนถึงปี พ.ศ. 2552 นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการบริหารสมาคมระดับภูมิภาค คือ Asian-Pacific Craniofacial Association ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ เป็นกรรมการบริหาร (Council Member) ของสมาคมระดับนานาชาติ คือ International Society of Craniofacial Surgery (มิถุนายน 2544 - ปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งโดยศัลยแพทย์ผู้เป็นบิดาแห่งวงการ Craniofacial Surgery คือ Prof. Dr. Paul Tessier แห่งประเทศฝรั่งเศส (เป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่เป็นสมาชิกของสมาคมนี้/พ.ย. 2544
- นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์และนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย โดย นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯเป็นท่านแรก ส่วน นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่ชุดแรกจนถึงปัจจุบัน
- ในช่วงการประชุมด้านสาธารณสุขในระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Health Week) ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 3 หน่วยงานที่ได้จัดนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ของไทยให้กับเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการเสนอการขับเคลื่อนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในรูปแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG models) ที่ได้รับการนำเสนอเพื่อขับเคลื่อน APEC 2022 ให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล หลังการแพร่ระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ มุ่งหวังให้สร้างความสมดุลในทุกด้าน
ปัจจุบันศูนย์ฯ มีผู้ป่วยในความดูแลเป็นจำนวน 3,850 คน
ประเภทความผิดปกติ | ผู้ป่วยในความดูแล |
---|---|
Cleft lip/palate | 766 |
Craniofacial microsomia | 350 |
Craniosynostosis - single | 235 |
FEEM | 232 |
Ear anomalies | 225 |
Facial injury | 167 |
Craniofacial cleft | 153 |
Craniosynostosis - multiple | 126 |
Other craniofacial | 113 |
Head and neck tumors | 104 |
Cosmetic concerns | 84 |
Other anomalies | 74 |
Venous malformation | 66 |
Pierre Robin sequence | 63 |
Mandibular prognathism | 60 |
Non-craniofacial | 56 |
Maxillary hypoplasia | 50 |
Frontonasal dysplasia | 41 |
Undetermined | 37 |
Treacher Collins | 32 |
VPI | 31 |
Eyelid ptosis - congenital | 30 |
NF1 - soft tissue tumor | 29 |
Eyelid/orbit anomalies | 22 |
Micrognathia | 19 |
TMJ ankylosis | 19 |
Romberg disease | 18 |
Congenital melanocytic nevus | 17 |
Facial palsy | 16 |
NF1 - orbital dysplasia | 15 |
Nasal deformities | 15 |
Goldenhar syndrome | 14 |
Hemifacial hypertrophy | 14 |
Congenital facial palsy | 14 |
Others | 12 |
Lymphatic malformation | 11 |
Fibrous dysplasia | 10 |
Combined vascular malformation | 8 |
Rhinencephalic dysplasia | 8 |
Arterial malformation | 5 |
Capillary malformation | 5 |
Velocardiofacial syndrome | 4 |
Facial palsy | 3 |
Scleroderma | 2 |
Charge syndrome | 2 |
Bell palsy | 2 |
Single-organ enlargement | 2 |
Pycnodysostosis | 2 |
Lip anomalies | 1 |
Tongue anomalies | 1 |
Craniopagus | 1 |