'.$description; ?>

Heading for Printing

ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน : ตั้งใจ หรือ แค่พลั้งเผลอ
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน : ตั้งใจ หรือ แค่พลั้งเผลอ

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน : ตั้งใจ หรือ แค่พลั้งเผลอ

เล่าเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 62
โดยสุฑาทิพย์ คำเที่ยง

ปี 2561 เรายังคงได้ยินหรือเห็นภาพข่าวจากสื่อต่างๆ เรื่องเด็กถูกกระทำความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น การถูกทุบตี การใช้ไฟจี้หรือใช้น้ำร้อนลวก การถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือทำอนาจาร การถูกกลั่นแกล้งรังแก การถูกดุด่าว่ากล่าว การถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว การถูกทอดทิ้งปล่อยปละละเลย เป็นต้น  ซึ่งผู้กระทำความรุนแรง ได้แก่ บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ครู และบุคคลแปลกหน้า การใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาใหญ่ในระดับสากล

จากรายงานประจำปี Ending Violence in Childhood: Global Report 2017 ที่จัดทำขึ้นโดย Know Violence in Childhood องค์กรระหว่างประเทศที่เคลื่อนไหวเรื่องการใช้ความรุนแรงในเด็ก  รายงานนี้ระบุว่า เด็กและเยาวชน 1 พัน 7 ร้อยล้านคน หรือคิดเป็น 3 ใน 4 ของเด็กและเยาวชนทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงทุก ๆ ปี รวมถึงการรังแก กลั่นแกล้ง การต่อสู้ การทารุณกรรม และความรุนแรงทางเพศ รวมทั้งการลงโทษทางร่างกายทั้งในบ้านและในสถานศึกษา¹

สำหรับประเทศไทย จากสถิติศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2547 – 2561 พบเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงมารับบริการ 121,860 ราย โดยการกระทำรุนแรงในเด็กมีสาเหตุมาจากการปล่อยปละละเลยของครอบครัว ขาดการดูแลอย่างเหมาะสมจนเป็นเหตุให้เด็กถูกกระทำความรุนแรงทางเพศมากที่สุด  ส่วนใหญ่จะถูกกระทำโดยคนใกล้ชิด² สาเหตุของการกระทำความรุนแรง พบว่า เกิดจากผู้กระทำดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ยาเสพติด  นอกจากนี้เกิดจากความเครียด ปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเลียนแบบพฤติกรรมจากสื่อต่าง ๆ

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำความรุนแรง แบ่งได้เป็น ทางด้านร่างกาย เช่น มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ผิดปกติ ขาดสารอาหาร พิการ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ เป็นต้น  ทางด้านจิตใจ ได้แก่ ขาดความมั่นคงทางจิตใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึมเศร้า หวาดระแวง มีปัญหาสุขภาพจิตหรือความเครียดอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การพึ่งพายาเสพติด หรือการฆ่าตัวตาย เป็นต้น  ทางด้านสังคม ได้แก่ ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต แยกตัวออกจากสังคม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นไม่ได้ ต่อต้านสังคม กระทำความรุนแรงต่อบุคคลอื่น เป็นต้น

เราจะป้องกันความรุนแรงในเด็กและเยาวชนได้อย่างไร

ลำดับแรกควรต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เราต้องรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลนั้นๆ ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเข้มแข็งหรืออ่อนแอกว่าใคร ไม่มีใครเป็นสมบัติของใคร  ความรักไม่จำเป็นต้องทำร้ายหรือกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้บุคคลนั้นมีพฤติกรรมตามที่เราคาดหวัง และเมื่อมีครอบครอบครัวก็ต้องให้ความรักความอบอุ่น หากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี  การอบรมสั่งสอนต้องสั่งสอนด้วยความรักไม่ลงโทษด้วยความรุนแรง แต่ต้องลงโทษเพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือความเป็นเหตุเป็นผล เช่น ลงโทษเด็กด้วยการทำงานบ้าน หรือทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมแทนการเฆี่ยนตี เป็นต้น  นอกจากนี้ลดเลิกพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความรุนแรง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด การเล่นพนันหรือสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น  ขณะเดียวกันชุมชนต้องช่วยกันสอดส่องไม่ให้เกิดความรุนแรงในชุมชน เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง หรือเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาวะความเสี่ยงที่จะถูกกระทำความรุนแรง ไม่ควรเพิกเฉย หรือมองว่าเป็นเรื่องของคนอื่น ควรจะรีบเข้าไปห้ามปราม แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร 1300 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร 02-4120739 (ในเวลาราชการ)

ที่มา

  1. www.voathai.com
  2. www.thaihealth.or.th